ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชไร้ดิน (ไฮโดรโปนิกส์)
เชื่อว่าหลายๆคนที่เคยได้ยินผักไฮโดรโปนิกส์ เรามาดูกันว่าผักที่ปลูกแบบนี้มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง
ข้อดี
- ควบคุมการใช้ธาตุอาหารของพืชได้ง่ายกว่าการปลูกลงดิน
- ลงค่าแรงงาน เนื่องจากการปลูกในระบบการปลูกไฮโดรโปนิกส์ ไม่ต้องมีการเตรียมแปลงปลูกขนาดใหญ่ จึงไม่ต้องจ่ายค่ารถไถเพื่อเตรียมดิน ดูแลหน้าดิน ค่ากำจัดวัชพืช รวมไปถึงการใส่ปุ๋ยและยกร่อง
- ความสม่ำเสมอของการให้น้ำ เนื่องจากการทำงานเป็นระบบจึงมีการหมุนเวียนของน้ำอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งระบบไฮโดรโปนิกส์จะประหยัดน้ำกว่าการให้น้ำกับพืชที่ปลูกทางดินไม่น้อยกว่า 10 เท่า ซึ่งจะมีผลทำให้การปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือนอกฤดูปลูกปกติในดิน สามารถทำได้โดยมีผลตอบแทนสูงกว่า
- ควบคุมโรคในดินได้ง่าย ปัญหาศัครูพืชน้อยลง
- ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอและคุณภาพที่ดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีเพราะผู้ปลูกจะควบคุมอุณหภูมิ แสง และธาตุอาหารได้
ข้อเสีย
- ลงทุนสูงในระยะแรก
- ต้องจัดการดูแลในเรื่องของระบบเป็นอย่างดี เช่น ไฟ ปั๊มน้ำ พัดลม เป็นต้น
- ต้องคอยระวังโรคที่เกิดจากน้ำ
- ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของชนิดพืชที่สามารถปลูกได้
- ต้องหมั้นควบคุมรักษาค่า pH และ EC อย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเนวาดา เมืองรีโน ประเทศศหรัฐอเมริกา ได้มีข้อมูลการเปรียบเทียบระบบไฮโดรโปนิกส์กับการปลูกแบบลงดิน สำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ พบว่าสตรอว์เบอร์รีไฮโดรโปนิกส์ให้ผลผลิตสูงขึ้น 17% เมื่อเทียบกับสตรอว์เบอร์รีที่ปลูกในดิน อีกทั้งกรณีศึกษาอื่นๆ ยังพบว่าพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกลงดิน 20-25% ที่ให้ผลผลิตสูงกว่า 2-5 เท่า