สไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer)
จากเหตุเพลิงไหม้โรงงานภายในซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จนมีคำสั่งให้ผู้ที่อยู่ในรัศมี 1 – 5 กิโลเมตรโดยรอบอพยพ เนื่องจากประชาชนอาจได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว โดยเฉพาะหากได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมี
วันนี้เด็กบ้านนอกมีสาระดีๆ นำข้อมูลด้านพิษวิทยาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ครับ
ทางด้านข้อมูลพิษวิทยา ได้แบ่งความเป็นพิษ 2 ลักษณะคือ พิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง
- ความเป็นพิษเฉียบพลัน
- เมื่อถูกผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคือง
- เมื่อเข้าตา จะส่งผลให้ตาเกิดการระคายเคือง
- เมื่อหายใจหรือสูดดมเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อยุทางเดินหายใจ ทำให้ไอและหายใจลำบาก เมื่อดูดซึมจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดพิษ จะทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ง่วงซึม
- เมื่อกลืนกิน จะทำให้ระคายเคือง เป็นแผลไหม้ที่ปากและกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ปวดท้อง ปวดศีรษะ วิงเวียน อาเจียน และเซื่องซึม
- ความเป็นพิษเรื้อรัง
- ทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมในคน
- อาจจะทำให้เกิดมะเร็งในคนและสัตว์
- เพิ่มการแท้งในสตรีมีครรภ์ที่สัมผัสกับสารนี้
- ทำให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะการทำงานของต่อมไทรอยด์และการมีประจำเดือนผิดปกติ รวมถึงมีผลต่อฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์
- ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ต่อมน้ำเหลืองผิดปกติ มีผลต่อระบบประสาท ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- นำผู้ประสบภัยไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
- ถ้าผู้ประสบภัยหยุดหายใจให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ถ้าผู้ประสบภัยหายใจลำบาก ให้ใช้เครื่องให้ออกซินเจน
- ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่มีการปนเปื้อนออกทันที่
- หากสัมผัสกับสารนี้ ให้ล้างออกด้วยน้ำ หรือเมื่อเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดไหลผ่านอย่างน้อย 15 – 20 นาที
- กรณีไฟไหม้ผิวหนัง รีบทำให้เย็นทันทีเท่าที่ทำได้ด้วยน้ำเย็น ไม่ถอดเสื้อผ้าออกถ้าเสื้อผ้าติดผิวหนัง
- รักษาร่างกายผู้ประสบภัยให้อบอุ่น และนำส่งแพทย์
- ผู้ปฐมพยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สไตรีนโมโนเมอร์
สำหรับผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมพบว่า มีผลต่อดินค่อนข้างน้อยและเป็นสารที่ไม่ตกค้างในน้ำ แต่มีผลต่อการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ โดยจะไปลดระยะเวลาการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำเป็นเวลานานหลายชั่วโมง เนื่องจากสารชนิดนี้มีความสามารถในการระเหยค่อนข้างสูง จึงสามารถทำลายชั้นโอโซนได้
ข้อมูลจาก | คู่มือการจัดการสารเคมีอันตรายสูง สไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer) โดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก