COVID-19,  อยากรู้

Omicron BA4 และ BA5 ป่วยเพิ่มแค่ไหน

BA.4 และ BA.5 มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่เหมือนกันในส่วนของโปรตีนหนาม แต่จะแตกต่างกันในส่วนที่ไม่ใช่โปรตีนหนาม จึงมักจะเรียกรวมกัน แต่ BA อื่นๆ จะมีการกลายพันธุ์ตำแหน่งที่เป็นโปรตีนหนามจึงจะแยกกันออกไป Omicron BA.4, BA.5 จะมีบางส่วนที่มีการกลายพันธุ์คล้ายๆ เดลต้า หมายความว่า ถ้าท่านติดเชื้อโควิดในช่วงปลายปีที่แล้วถึงต้นปีนี้ ท่านก็จะสามารถติดเชื้อโควิดซ้ำได้

หากย้อนไปในช่วงที่เชื้อเดลต้าระบาด ระบบสาธารณสุขไม่สามารถรับมือได้ เตียงเต็ม คนไข้ล้น ทำให้มีการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น Omicron ตั้งแต่สายพันธุ์แรกคือ BA.1 หรือ BA.2 อาการไม่หนักแต่แพร่เร็ว จากนั้นก็จะเป็น BA.2.12.1 (ซึ่งปัจจุบันเป็นสายพันธุ์หลักของอเมริกาและของโลก โดย BA.2 ก็จะเริ่มลดบทบาทลงไป) แต่ที่น่าจับตาคือ BA.4, BA.5 เริ่มตรวจพบช่วงเดือนเมษายนพบเพียง 4-5% พอเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 10% และในวันนี้ (ปลายเดือนมิถุนายน) ขึ้นมาถึง 33% หมายถึง 1 ใน 3 ของทั้งหมด การที่เพิ่มมากขึ้นเร็วเช่นนี้ จะหมายถึงสายพันธุ์นี้จะมาแทนที่สายพันธุ์อื่น ที่สำคัญถึงแม้ท่านจะเคยติดสายพันธุ์อื่นมาก่อน ท่านก็สามารถติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ BA.4, BA.5 ได้ และสามารถแสดงอาการได้



ปัจจุบัน BA.4, BA.5 เริ่มมีจำนวนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราหย่อนยานเรื่องการใส่หน้ากาก จึงทำให้มีคนป่วยเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นเพราะก่อนหน้านี้อาการน้อยจึงไม่ได้ขึ้นทะเบียนและเข้าระบบ หรืออาจเป็นเพราะ BA.4, BA.5 เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้มีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

แนวทางการปฏิบัติ

  1. หากท่านที่มีโอกาสติดเชื้อโควิดแบบมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี เป็นโรคอ้วน มีโรคประจำตัวเช่น มีโรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจเรื้อรัง เบาหวานที่คุมไม่ได้ มะเร็ง ได้รับยากดภูมิต้านทานไม่ว่าท่านที่ปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ปอด ตับ ไต หรือภูมิต่อต้านตัวเองที่จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิต้านทาน ท่านจะต้องระมัดระวังป้องกันตัวเองให้ดี
  2. หญิงที่ตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโควิดรุนแรง
  3. ที่อเมริกามีหญิงที่ตั้งครรภ์ คลอดบุตรออกมาแล้วทำให้เด็กติดโควิดและมีอาการรุนแรง และเสียชีวิต ในทางตรงกันข้าม หากหญิงที่ตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนครบ มีโอกาสสูงที่ทารกจะได้ภูมิจากแม่และโอกาสที่เด็กจะต้องเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลมีน้อยกว่าแม่ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน
  4. นอกจากการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง แล้วจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้ครบเข็มกระตุ้น ถึงแม้วัคซีนจะเป็นรุ่นเก่าแต่ยังสามารถป้องกันการเสียชีวิต ป้องกันอาการหนัก และป้องกันเชื้อ Omicron ได้ดีอยู่ ถึงแม้จะไม่ได้ป้องกันการติดได้มากขนาดนั้น
  5. การฉีดวัคซีน
    – 5-50 ปี ควรฉีดรวมทั้งหมด 3 เข็ม ( 2 เข็มแรก และต้อง Boost อีก 1 เข็มห่างไป 5 เดือน)
    – 50 ปีขึ้นไปต้องฉีดทั้งหมด 4 เข็ม โดยเข็มที่ 4 ห่างจากเข็มที่ 3 อย่างน้อยเป็นเวลา 4 เดือน ห่างกว่านั้นไม่เป็นไร)
    – ท่านที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง ควรฉีดทั้งหมด 5 เข็ม ( 3 เข็มแรก (ไม่ใช่ 2 เข็ม) แล้ว Boost ต่ออีก 1-2 เข็มตามอายุ)
  6. วัคซีน Moderna แบบใหม่ที่เป็นวัคซีนต่อ Omicron มีแนวโน้มว่าจะมีผลดี ซึ่งน่าจะออกมาใช้ในอเมริกาในช่วงปลายสิงหาคมถึงกันยายน กว่าจะมาถึงประเทศไทยอาจเป็นกลางปีหน้า จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนแบบเดิม สามารถป้องกัน Omicronได้ ถึงแม้จะไม่ดีเท่ารุ่นใหม่ แต่ก็ยังป้องกันอาการหนักได้ดีมากๆ

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=ST7blrz6hvU

Leave a Reply