
กัญชา และกัญชงในประเทศไทย
วันนี้จะมานำเสนอข้อมูล กัญชา และกัญชงในประเทศไทย ส่วนไหนใช้ได้ทั่วไปไม่เป็นยาเสพติด และส่วนไหนไม่สามารถใช้ได้เป็นยาเสพติด
ตามประกาศ สธ. เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563
ส่วนต่างๆ ของกัญชา กัญชง
ส่วนที่เป็นยาเสพติด
– เมล็ดกัญชา ใช้เป็นเมล็ดพันธ์
– ช่อและดอกดอกกัญชา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ศึกษาวิจัย, ผลิตสารสกัด
ส่วนที่ไม่เป็นเป็นยาเสพติด
– เมล็ดกัญชง น้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ใช้เป็นเมล็ดพันธ์, ศึกษาวิจัย ผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร เครื่องสำอาง
– ใบจริง/ใบพัด ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์, ศึกษาวิจัย ผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร เครื่องสำอาง
– เปลือก ลำต้น เส้นใย ใช้ศึกษาวิจัย, ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สิ่งทอ ยานยนต์ กระดาษ
– ราก ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์, ศึกษาวิจัย ผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร เครื่องสำอาง
– กิ่งและก้าน ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์, ศึกษาวิจัย ผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร เครื่องสำอาง
– สารสกัด CBD และต้องมี THC ไม่เกิน 0.2% ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์, ศึกษาวิจัย ผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร เครื่องสำอาง
– กากจากการสกัด ต้องมี THC ไม่เกิน 0.2%
หมายเหตุ: ส่วนต่างๆ ของกัญชา กัญชง ต้องได้จากการปลูกหรือผลิตโดยผู้รับอนุญาติตามกฏหมาย
ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ อย.
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข

